ปัญหาคางสั้น คางตัด คางบุ๋ม หลาย ๆ คนมีคำถามหรือลังเลระหว่างฉีด “ฟิลเลอร์คาง” หรือผ่าตัดเสริมคางแบบไหนเหมาะกับตัวเองอยู่ใช่ไหม ซิกม่าคลินิกรวมข้อดีข้อเสียไว้ให้ในบทความนี้แล้วไปดูกันว่าแบบไหนใช่สำหรับคุณ
ฟิลเลอร์คาง คืออะไร ?
การฉีดฟิลเลอร์คาง คือการเติมสาร Hyaluronic acid (HA) ไปยังบริเวณคางเพื่อแก้ปัญหารูปคางต่างๆ ปั้นรูปทรงคางให้เข้ากับใบหน้า ทำให้ใบหน้าดูสมส่วน รับกับรูปหน้าโดยรวมมากยิ่งขึ้น
โดยการฉีดฟิลเลอร์เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในเวลานี้ โดย HA เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นมาเลียนแบบตามธรรมชาติของร่างกายเรา และเป็นสารเดียวที่อย.รับรอง สามารถสลายได้เอง ไม่ทิ้งสิ่งตกค้างที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
เช็กปัญหา คางเป็นแบบไหน
- คางสั้น ทำให้ใบหน้าดูไม่สมส่วน ส่งผลให้ใบหน้าดูกลม ขาดมิติบนใบหน้า
- คางตัด ปลายคางจะตัดตรงไม่มีความมน ส่งผลให้ใบหน้าดูเหลี่ยม ดูแข็ง
- คางบุ๋ม ปลายคางมีร่องตรงกลางบุ๋มลงไปหรือเป็นคลื่น คล้ายรูปหัวใจ ส่งผลให้ใบหน้าดูแข็งไม่ละมุน
ฉีดฟิลเลอร์คาง ช่วยเรื่องอะไรบ้าง ?
- แก้ปัญหาคางสั้น คางตัด
- ปรับรูปหน้าให้ดูมีมิติ เรียวมากขึ้น
- แก้ปัญหาคางบุ๋ม คางไม่เท่ากัน ให้ดูสมส่วน ละมุนขึ้น
- เสริมโหงวเฮ้ง
ฟิลเลอร์คาง vs ผ่าตัดเสริมคาง แบบไหนดีกว่ากัน ?
ฟิลเลอร์คาง | ผ่าตัดเสริมคาง |
---|---|
ไม่ต้องผาตัด ไม่ต้องพักฟื้น ใช้เวลาในการรับหัตถการไม่นาน เห็นผลลัพธ์ทันทีหลังทำ อยู่ได้นาน 12-18 เดือน ฟิลเลอร์สลายเติมใหม่ได้เรื่อย ๆ หากแก้ไขเสริมเพิ่มได้ทันที | ผ่าตัด มีแผล เสี่ยงติดเชื้อ ใช้เวลาพักฟื้น ใช้เวลาในการรับหัตถการนานกว่า เห็นผลเต็มที่ 1-3 เดือน อยู่ได้ถาวร หากแก้ไขต้องผ่าตัดเปลี่ยนซิลิโคน |
ฉีดฟิลเลอร์คางแล้วผ่าตัดเสริมคางได้ไหม ?
สามารถทำได้ แต่ต้องรอให้ฟิลเลอร์ต้องสลายหมดก่อนหรือฉีดสลาย เนื่องจากฟิลเลอร์ส่งผลต่อการยึดเกาะของซิลิโคนที่ทำมาเสริม
ฟิลเลอร์คางฉีดแล้วเป็นก้อนไหม ?
ในบางรายที่ฉีดฟิลเลอร์คางแล้วเป็นก้อน ดูไม่เป็นธรรมชาติก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น
- ชนิดของฟิลเลอร์ไม่เหมาะกับการเติมคาง โดยฟิลเลอร์ที่เหมาะสมกับการเติมคางควรเป็นเนื้อแข็ง ขึ้นทรงได้ง่าย ฉีดแล้วพุ่งสวยดูมีมิติ
- ฟิลเลอร์ที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือฟิลเลอร์ปลอม ไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ
- ฉีดกับแพทย์ที่ไม่มีประสบการณ์ อาจวางฟิลเลอร์ผิดตำแหน่งทำให้หลังจากการฉีด ฟิลเลอร์ไหลลงมากองรวมกันทำให้เป็นก้อนได้ และเสี่ยงต่อการอักเสบง่ายอีกด้วย
- ใช้ฟิลเลอร์ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดเป็นก้อนนูนได้ หรือทำให้คางดูยาวจนเกินไป ไม่สมส่วนกับใบหน้า
แต่ทั้งนี้ในช่วงแรกคนไข้อาจจะสามารถสัมผัสได้ว่ามีก้อนฟิลเลอร์บริเวณใต้ผิว โดยฟิลเลอร์จะค่อยๆ กลืนไปกับผิว จนคลำได้เป็นเนื้อนิ่มๆ คล้ายกับผิวปกติของเรา ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-3 เดือน
ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์คางให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีนอกจากจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแพทย์แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยหลักคือ ผลิตภัณฑ์ฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย ทำให้เรามั่นใจได้ว่าผลลัพธ์หลังการฉีดฟิลเลอร์จะออกมาสวย เป็นธรรมชาติ ไม่เป็นก้อน อย่างแน่นอน
ฟิลเลอร์คางใช้กี่ CC ?
การฉีดฟิลเลอร์คางจะเริ่มต้นที่ 1 cc ขึ้นอยู่กับปัญหารูปคางของคนไข้ รูปทรงคางที่ต้องการ ในบางรายอาจต้องใช้ 2 cc ถึง 3 cc ทั้งนี้ต้องทำการประเมินโดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะหากใช้ปริมาณฟิลเลอร์ที่ปริมาณไม่เหมาะสม เติมมากไปอาจทำให้เกิดเป็นก้อนได้หรือเติมน้อยไปก็จะไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลง
ฟิลเลอร์คางอยู่ได้กี่เดือน ?
ฟิลเลอร์ที่นำมาใช้ฉีดคาง ส่วนมากจะมีเนื้อที่แข็ง มีความเข้มข้นของ Hyaluronic acid ที่สูง ทำให้อยู่ได้นาน โดยระยะเวลาทั่วไปจะอยู่ได้นานประมาณ 6 เดือน ถึง 2 ปี
ทั้งนี้ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับยี่ห้อ โมเลกุลของฟิลเลอร์ ระดับเอนไซม์ที่ย่อยสลายฟิลเลอร์ (Hyaluronidase) ในผิวของแต่ละบุคคล และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การอาบน้ำอุ่นเป็นประจำ ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพของฟิลเลอร์หรืออายุการใช้งานของฟิลเลอร์ลดน้อยลง
ฟิลเลอร์คาง อันตรายไหม ?
หลายคนอาจกังวลว่าฉีดฟิลเลอร์คางจะอันตรายไหม?? กลัวจะฉีดฟิลเลอร์คางแล้วอักเสบหรือเป็นก้อน
ซึ่งการฉีดฟิลเลอร์คางจะไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด แต่หากใช้ฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐาน ผ่าน อย. เนื้อฟิลเลอร์เหมาะสมกับการนำมาฉีดปรับรูปคาง และที่สำคัญควรฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินแนวการรักษาปัญหาคางของเราได้อย่างตรงจุด ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ
ซึ่งหากฉีดฟิลเลอร์คางแล้วเกิดการอักเสบมักเกิดกับเคสที่ฉีดฟิลเลอร์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สถานที่ฉีดไม่มีความสะอาด หรือฉีดกับหมอกระเป๋าที่ไม่ใช่แพทย์
สรุป
ปัญหาคางสั้น คางตัด คางบุ๋ม แก้ไขด้วยฟิลเลอร์คางที่ช่วยปรับรูปหน้า และเสริมคางให้เรียวสวย ใบหน้าวีเชฟขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่าตัดแต่อยู่ได้ไม่ถาวร ต่างจากการผ่าตัดเสริมคางด้วยซิลิโคนอยู่ได้ถาวร แต่ต้องใช้เวลาพักฟื้น ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียทั้งคู่ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจดีที่สุด และเลือกให้สอดคล้องกับเป้าหมายและงบประมาณของเรา