หากคุณกำลังสงสัยว่าปัญหาสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมที่เกิดขึ้นกับผู้ชายและผู้หญิงมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง รวมถึงความเชื่อที่ว่าผู้ชายมีโอกาส ผมร่วง มากกว่าผู้หญิงเป็นเรื่องจริงหรือไม่ บทความนี้จะมาอธิบายให้ได้อ่านกันแบบเข้าใจง่าย พร้อมอีกหลายเรื่องน่ารู้ที่ส่งผลให้ผมร่วง ไปจนถึงแนวทางการบรรเทารักษาอาการว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
วงจรชีวิตของเส้นผม

วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมมี 3 ระยะ คือ
1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) เป็นช่วงที่เซลล์รากผมมีการแบ่งตัวงอกออกจากศีรษะ หรือเป็นช่วงที่ผมเจริญเติบโตเต็มที่ (Active Phase) ระยะของเส้นผมช่วงนี้จะมีอายุประมาณ 3 ปี และในบางคนอาจนานถึง 7 ปี และเป็นช่วงที่เป็นตัวกำหนดความยาวของเส้นผม และเป็นระยะที่เส้นผมมีโครงสร้างที่สมบูรณ์ เส้นผมบนศีรษะจะอยู่ในระยะนี้ราว 80-85% หลังจากนั้นจะค่อยๆ เริ่มทยอยกันร่วง
2. ระยะหยุด (Catagen Phase) เป็นช่วงต่อจากระยะแรก เป็นช่วงที่เส้นผมหยุดการเจริญเติบโต โดยเส้นผมในระยะนี้จะแยกตัวจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยง และเข้าสู่ระยะพักตัว ค่อยๆ ขาดสารอาหาร และเตรียมที่จะร่วง เส้นผมในระยะนี้มีช่วงอายุสั้นประมาณ 10 -14 วัน
3. ระยะสุดท้าย (Telogen Phase) เป็นช่วงที่ผมมีอายุมาก และพร้อมที่จะหลุดได้ทันที รากผมจะแยกตัวหลุดออกมาจากปุ่มปลายแหลมอย่างเด็ดขาด แต่ยังฝังตัวอยู่ในต่อมรากผม ในช่วงนี้จะมีเส้นผมใหม่ที่กำลังจะงอกใหม่ดันให้เส้นผมเก่าหลุดร่วงออกไป แต่หากมีอะไรมาขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่ ก็อาจจะทำให้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผมร่วงมากกว่าผมงอกขึ้นใหม่ได้
โดยปกติเเล้วเส้นผมของมนุษย์จะมีวงจรการงอก เติบโต เเละร่วงสลับกันไป โดยเเต่ละวงจรจะใช้ระยะเวลาประมาณ 5 – 6 ปี โดยทั่วไปบนศีรษะจะมีเส้นผมประมาณ 100,000-120,000 เส้น โดยในเเต่ละวันอาจมีผมร่วงได้ประมาณ 50-100 เส้น ซึ่งถ้าร่วงมากกว่าจำนวนนี้ถือว่ามีความผิดปกติ
จริงหรือไม่ที่ผู้ชายมีโอกาส ผมร่วง มากกว่าผู้หญิง?
สำหรับคำถามน่าจะสงสัยข้อนี้ คำตอบคือ จริง ผู้ชายมีโอกาสผมร่วงได้มากกว่าผู้หญิง โดยพบว่าประมาณ 50% ของผู้ชายจะประสบปัญหาผมร่วงหรือผมบางในช่วงอายุ 50 ปี ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ประมาณ 25% เท่านั้น โดยสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์และฮอร์โมน
ผู้ชายที่มีปัญหาผมร่วง นั่นเป็นเพราะฮอร์โมนเพศชาย (เทสโทสเตอโรน) จะถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมน DHT (Dihydrotestosterone) ซึ่งมีผลต่อเส้นผม โดยทำให้เส้นผมมีขนาดเล็กลงและหลุดร่วงง่าย
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสาเหตุด้านฮอร์โมนที่ทำให้ผู้ชายผมร่วงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วยเช่นกัน โดยสามารถแบ่งเป็นข้อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- กรรมพันธุ์ พบว่าผู้ชายที่มีประวัติคนในครอบครัวหัวล้าน สมาชิกคนอื่น ๆ ก็จะมีความเสี่ยงสูงที่จะผมร่วงเช่นกัน
- อายุ ความเสี่ยงต่อการเกิดผมร่วงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
- ภาวะสุขภาพบางประการ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง
สำหรับผู้หญิง ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนจะช่วยยับยั้งการทำงานของฮอร์โมน DHT ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสผมร่วงน้อยกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงที่ผู้หญิงจะผมบางได้เช่นกัน
ตารางเปรียบเทียบอาการผมร่วงในผู้หญิงและผู้ชาย

รู้ได้อย่างไรว่าอาการ ผมร่วง กำลังจะมาเยือน?
ไม่ว่าจะเป็นอาการผู้หญิงผมบาง หรือผู้ชายหัวล้าน ยิ่งเรารู้ตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ เท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะจะมีเวลาในการเตรียมตัวรับมือ รวมถึงหาวิธีป้องกันรักษาที่ได้ผล ดังนั้น ในหัวข้อนี้ จึงจะมาอธิบายว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาการผมบางศีรษะล้านกำลังจะมาเยือน โดยแบ่งเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
ผมร่วงมากขึ้นกว่าปกติ: สัญญาณเตือนภัยที่พบบ่อยที่สุดของผมบางศีรษะล้าน คือ ผมร่วงมากขึ้นกว่าปกติ เพราะโดยปกติแล้ว ผู้ชายจะมีอาการผมร่วงบริเวณด้านหน้าและบนศีรษะ ส่วนผู้หญิงจะมีอาการผมร่วงบริเวณกลางศีรษะ หากสังเกตเห็นว่าผมร่วงมากขึ้นกว่าปกติ เช่น หลุดร่วงขณะสระผม แปรงผม หรือหวีผม สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนภัย ว่าเราอาจเกิดอาการผมบางศีรษะล้านได้
ผมบางลงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะ: นอกจากผมร่วงมากขึ้นกว่าปกติแล้ว อาการผมบางลงบริเวณใดบริเวณหนึ่งของศีรษะก็อาจเป็นสัญญาณเตือนภัยของอาการผมบางศีรษะล้านได้เช่นกัน โดยบริเวณที่มักพบผมบางลง ได้แก่ บริเวณด้านหน้า บนศีรษะ ไปจนถึงกลางศีรษะ
เส้นผมเล็กลง: เส้นผมที่เล็กลงก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ต้องระวังเช่นกัน โดยเส้นผมที่เล็กลงจะมีความยาวสั้นลง และมีความแข็งแรงน้อยลง ส่งผลให้ผมหลุดร่วงได้ง่าย
การรักษาอาการผมร่วงในผู้หญิงกับผู้ชายเหมือนกันไหม?

เนื่องจากการที่ผู้ชายผมร่วง และผู้หญิงผมร่วงนั้นมีความแตกต่างกันหลายด้าน ทว่า ในด้านของการรักษาบรรเทาอาการมีความคล้ายคลึงกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ โดยการรักษาเบื้องต้นอาจทำได้ด้วยการใช้ยาแก้ผมร่วง เช่น ไมนอกซิดิล (Minoxidil) หรือ ฟินาสเตอไรด์ (Finasteride) ซึ่งยาเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม แต่นอกจากการใช้ยาแล้ว ยังมีแนวทางการรักษาอื่น ๆ ที่สามารถทำได้ เช่น
- การรักษาด้วยเลเซอร์: ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมและชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม
- การรักษาด้วยวิธีการปลูกผม: การผ่าตัดปลูกผมเป็นทางเลือกในการรักษาผมร่วงผมบางที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะทำการย้ายรากผมจากบริเวณที่มีผมหนามาปลูกบริเวณที่มีอาการผมร่วง
- การรักษาด้วยเมโสผม: เทคนิคของการฉีดสารอาหาร หรือสารบำรุงผมเข้าสู่รากผมโดยตรง เพื่อรักษาปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน โดยจะกระตุ้นเซลล์รากผมให้แข็งแรง ทำให้เส้นผมกลับมางอกขึ้นใหม่ได้ดี และเร็วยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาผู้ชายหัวล้าน หรือผู้หญิงผมบาง ก็ควรที่จะเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ดีที่สุด
สรุป
ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย หากเริ่มเห็นสัญญาณผมร่วงก็อย่านิ่งนอนใจไป สามารถเข้ามาสอบถามได้ที่ Zigma Clinic